เตือน! ออกกิจกรรมกลางแจ้ง เสี่ยงช็อกจากอากาศร้อน

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เผยว่า สำหรับในวันที่ 17 มี.ค. นี้ อุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพ...

เตือน! ออกกิจกรรมกลางแจ้ง เสี่ยงช็อกจากอากาศร้อน

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต เผยว่า สำหรับในวันที่ 17 มี.ค. นี้ อุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพฯ จะอยู่ประมาณ 41 องศาเซลเซียส และในช่วงเวลาเที่ยงถึงบ่ายจะมีอุณหภูมิสูงที่สุด ซึ่งวันดังกล่าวอาจเป็นวันที่ร้อนที่สุดของเดือนมีนาคมนี้ แต่ทั้งนี้ยังถือว่าต่ำกว่าในอดีตที่เคยมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ 45 องศาเซลเซียส และช่วงที่ร้อนจริงๆ ของปี คือ เดือนเมษายน

ขณะที่ กรุงเทพฯ จะมีปัญหาเรื่องของผังเมือง ทำให้การถ่ายเทของลมไม่สะดวก เวลาลมพัดจะถูกอาคารสูงบังลมทั้งหมด ทำให้ลมนิ่งและร้อน แต่หากลมสามารถพัดผ่านระบายอากาศได้ก็จะทำให้อากาศถ่ายเท แต่ตอนที่สร้างตึกวางผังเมือง ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการระบายอากาศทำให้กรุงเทพฯ เกิดปัญหาในจุดนี้

แต่อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ ยังถือว่าโชคดีที่อยู่ใกล้ทะเล ทำให้โอกาสที่จะเกิดฮีตเวฟ หรือคลื่นความร้อน ได้น้อยกว่าอินเดียหรือประเทศในแถบแอฟริกา เพราะอากาศช่วงกลางวันและกลางคืนต่างกัน ประกอบกับประเทศไทยอยู่ใกล้ทะเล ทำให้เกิดเป็นความกดอากาศต่ำ ลมพัดจากทะเลเข้ามา ทำให้มีลมเย็นในตอนบ่ายและช่วงกลางคืน

สำหรับฮีตเวฟ หรือ คลื่นความร้อน จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดัน เนื่องจากคนกลุ่มดังกล่าวร่างกายจะมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ทำให้เมื่อเจออากาศร้อนจัดๆ หัวใจจะเต้นเร็วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะกลุ่มคนต่างชาติโซนยุโรป อเมริกา ที่ไม่เคยเจออากาศร้อนจัดถึง 40 กว่าองศาเซลเซียส อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการช็อกขึ้นได้

Untitled-14

พญ.จุรีพร คงประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงพิษภัยจากความร้อนว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกปี กรมควบคุมโรคมักพบผู้ป่วยโรคลมแดด (HEAT STROKE) ซึ่งอาการของผู้ป่วยเหล่านี้ มีสาเหตุมาจากผู้ป่วยอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนเกินระดับ 40 องศาฯ ขึ้นไป จนทำให้ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิกายสูญเสียการทำงานชั่วคราว ส่งผลสืบเนื่องให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกไปได้ (ปกติศูนย์ควบคุมอุณหภูมิกายจะควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้อยู่ที่ 37 องศาฯ) และเมื่ออุณหภูมิร่างกายมีความร้อนมากๆ แต่ไม่สามารถปรับลดลงได้ ก็จะส่งผลให้เลือดที่หล่อเลี้ยงผิวหนังและอวัยวะภายใน เช่น สมอง ตับ และกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ร่างกายภายในก็จะเกิดความเสียหายในที่สุด

อาการ
“เวลาที่เราอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนมากๆ ร่างกายของเราจะผลิตเหงื่อออกมา แต่ทันทีที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิกายเสียหายไปชั่วครู่ ตัวเราจะร้อน เหงื่อไม่ออก เพราะร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ จากนั้นจะมีอาการปวดหัว มึนงง เดินเซ คลื่นไส้ ก้าวร้าว หัวใจเต้นเร็ว และหมดสติ” พญ.จุรีพร อธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย

กลุ่มเสี่ยงส่วนผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคลมแดดได้สูงกว่าคนทั่วไปมี 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น กรรมกร, ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย 2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบและผู้สูงอายุ 3. ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 4. คนอ้วน 5. ผู้ที่อดนอน และ 6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ป้องกัน
รองผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ แนะแนวทางป้องกันจากโรคลมแดดว่า 1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน 2. หากเป็นไปได้ ควรอยู่ภายในบ้าน เช่น ใต้ถุนบ้าน หรืออยู่ใต้ร่มไม้ ลดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง 3. สวมแว่นกันแดด สวมหมวกปีกกว้าง 4. ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติจากวันละ 1-2 ลิตร เพิ่มเป็นชั่วโมงละประมาณ 1 ลิตร หรือ 3-4 แก้ว เพื่อให้ร่างกายปรับอุณหภูมิให้คงที่ ชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก 4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 5. อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ ไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง เนื่องจากความร้อนภายในรถ เสี่ยงต่อการเป็นลมแดดสูงมาก 6. ส่วนผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกออกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น

ช่วยเหลือ
พญ.จุรีพร รองผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ แนะนำวิธีการช่วยเหลือแก่ผู้ที่เป็นโรค HEAT STROKE ว่า “ทันทีที่พบ ผู้ป่วยโรคลมแดด คุณควรรีบเข้าช่วยเหลือโดยทันที หากผู้ป่วยยังรู้สึกตัว คุณควรห้ามไม่ให้ผู้ป่วยนั่ง ควรแนะนำให้ผู้ป่วยนอน พร้อมยกขาสูง เพิ่มการไหลเวียนของเลือด จากนั้นเอาผ้าเย็นประคบ ช่วยผู้ป่วยถอดเสื้อออก เปิดแอร์ หรือช่วยกันพัดระบายอากาศ เพื่อช่วยให้อุณหภูมิลดลง แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ให้จับตัวผู้ป่วยนอนตะแคงหันไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นเข้าไปอุดทางเดินหายใจ”

เสียชีวิตจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค พบว่ามีการเสียชีวิตเนื่องจากอากาศร้อน โดยในปี 2558 จำนวน 56 ราย ในปี 2557 จำนวน 28 ราย ในปี 2556 จำนวน 25 ราย
 
NjpUs24nCQKx5e1D8WYbWecnRlrR4H6QCVASU7LgqQ8
แผนภูมิแสดงจำนวนร้อยละผู้เสียชีวิต ระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 58 - 31 พ.ค. 58
“ส่วนใหญ่ ผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจะเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว ซึ่งในปี 2559 กรมควบคุมโรคยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อน เพราะอากาศเพิ่งร้อนได้ไม่กี่สัปดาห์ แต่จากสถิติจะพบว่า ผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องกับอากาศร้อนมีเพิ่มขึ้นทุกปี ราว 1-2 ราย ตกปีละ 30 ราย ในช่วงมีนาคม-เมษายน หรือ 30 คนตลอดทั้งปี ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าวจึงไม่น่ากังวลเท่าใดนัก เนื่องจากกราฟไม่ได้เติบโตสูงขึ้นมากเกินควร” รองผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ แสดงทัศนะตามสถิติข้างต้น
thairath

COMMENTS

ชื่อ

สกู๊ปบทความ,3,cinema,3,Health Tips,7,iT@Tips,1,Social News,14,
ltr
item
TheShareNow: เตือน! ออกกิจกรรมกลางแจ้ง เสี่ยงช็อกจากอากาศร้อน
เตือน! ออกกิจกรรมกลางแจ้ง เสี่ยงช็อกจากอากาศร้อน
https://lh3.googleusercontent.com/-1VlkbKhhf10/VuoaGFv2-9I/AAAAAAAABG4/i6E-RRatIfs/558000006309606_thumb%25255B3%25255D.jpg?imgmax=800
https://lh3.googleusercontent.com/-1VlkbKhhf10/VuoaGFv2-9I/AAAAAAAABG4/i6E-RRatIfs/s72-c/558000006309606_thumb%25255B3%25255D.jpg?imgmax=800
TheShareNow
https://thesharenow.blogspot.com/2016/03/TheShareNow-Scoop-article-blog-post72.html
https://thesharenow.blogspot.com/
http://thesharenow.blogspot.com/
http://thesharenow.blogspot.com/2016/03/TheShareNow-Scoop-article-blog-post72.html
true
7262877421775125314
UTF-8
Loaded All Posts Not found any posts VIEW ALL Readmore Reply Cancel reply Delete By Home PAGES POSTS View All RECOMMENDED FOR YOU LABEL ARCHIVE SEARCH ALL POSTS Not found any post match with your request Back Home Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS CONTENT IS PREMIUM Please share to unlock Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy